Trending
คณะผู้นำธุรกิจจีนกว่า 200 คนเยือนไทย ฉลองครบรอบ 49 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย จีน-ไทย เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว  รวมตัวกูรู 2 ประเทศ ร่วมการประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน-ไทย

คณะผู้นำธุรกิจจีนกว่า 200 คนเยือนไทย ฉลองครบรอบ 49 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย
จีน-ไทย เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว  รวมตัวกูรู 2 ประเทศ ร่วมการประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน-ไทย

ในภาพ: คุณแพนซี โฮ (Pansy Ho) รองประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมและการค้าของประเทศจีน (ตรงกลาง), คุณฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ที่สี่จากซ้าย) คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองรัฐมนตรีประจํากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ที่ห้าจากซ้าย) คุณพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ที่สี่จากขวา) และ คุณหาน จื้อเฉียง (Han Zhiqiang) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ที่ห้าจากขวา)


กรุงเทพฯ ประเทศไทย – คุณแพนซี โฮ (Pansy Ho) รองประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมและการค้าของประเทศจีน ประธานศูนย์วิจัยเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และ รองประธานและเลขาธิการใหญ่ของที่ประชุมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ในฐานะหัวหน้าคณะผู้นำด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊ามา ได้นำตัวแทนกว่า 200 คน มาเยือนกรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ในวาระการเฉลิมฉลองครบรอบ 49 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ภายใต้แคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวนอกประเทศ “หนีห่าว! ไชน่า” ของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน

การมาเยือนประเทศไทยของคณะตัวแทนผู้นำทางธุรกิจของประเทศจีนในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (Global Tourism Economy Research Centre) ร่วมกับ หอการค้าการท่องเที่ยวประเทศจีน และ หอการค้าสตรีประเทศจีน และได้รับการสนับสนุนโดยสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมการเดินทางแปซิฟิกเอเชีย ซึ่งนับเป็นครั้งสำคัญเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างทั้งเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการสานต่อวิสัยทัศน์ร่วมของ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และ ฯพณฯ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย จากการประชุมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางครั้งที่สาม (Third Belt and Road Forum for International Cooperation) ณ ประเทศจีน ใน พ.ศ. 2566 ซึ่งผู้นำทั้งสองประเทศยืนยันหนักแน่นในหลักการที่ว่า “ประเทศไทยและประเทศจีนมีความใกล้ชิดเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน” บนความร่วมมือที่กลมเกลียวกันบรรลุผลเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมจีน-ไทยทั้งหลาย และกระตุ้นความสนใจของผู้คนให้มุ่งไปยังงานฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีจีน-ไทยที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2568
ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ยังได้มีผลบังคับใช้ข้อตกลงยกเว้นวีซ่าระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่ “ยุคปลอดวีซ่า” อันส่งผลให้เกิดการพุ่งสูงขึ้นของ “การเดินทางท่องเที่ยวแบบสองทาง” ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวไทยซึ่งเดินทางไปเยือนประเทศของกันและกัน ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตขึ้นเป็นอันมาก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวของประเทศไทยประเมินว่า ประเทศไทยจะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนกว่า 8 ล้านคนใน พ.ศ. 2567 ซึ่งจะมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคกว่า 320 พันล้านบาท

ไฮไลท์การเยือนไทยของคณะตัวแทนจากจีนคือการจัดงาน “การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเทศจีน-ประเทศไทย” ณ โรงแรมอิสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรมจากหลายภาคส่วนทั่วทั้งประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ได้พบปะแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงลึกกับตัวแทนของรัฐบาลไทยและภาคส่วนการค้าและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และยังเป็นพื้นที่สำหรับการจับคู่ทางธุรกิจให้แก่ผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งสองประเทศได้หารือกันแบบตัวต่อตัว ผลักดันให้เกิดการพัฒนาร่วมกันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน-ไทย เพื่อการบูรณาการทรัพยากร สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ใหม่และดึงดูดความสนใจอีกด้วย

บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ อาทิ คุณแพนซี โฮ (Pansy Ho) รองประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมและการค้าของประเทศจีน ประธานศูนย์วิจัยเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และ รองประธานและเลขาธิการใหญ่ของที่ประชุมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองรัฐมนตรีประจํากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คุณพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย คุณหาน จื้อเฉียง (Han Zhiqiang) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย (จีน) คุณเอดิสัน เชิน (Edison Chen) รองประธาน ทริปดอทคอม กรุ๊ป (Trip.com) คุณฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คุณจี้ เซียวต้ง (Ji Xiaodong) ประธานหอการค้าประเทศจีน คุณปีเตอร์ ซีโมน (Peter Semone) ประธานสมาคมการเดินทางแปซิฟิกเอเชีย (Pacific Asia Travel Association – PATA) คุณวิลเลี่ยม เอ็ลล์วูด ไฮเน็ค (William Ellwood Heinecke) ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการจัดการ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกมากมาย

ในระหว่างการประชุมสุดยอดนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมที่ทรงอิทธิพลทางธุรกิจหลายท่านได้ร่วมอภิปรายเชิงลึกในหลายหัวข้อ อาทิ แนวโน้มล่าสุด โอกาสในการลงทุน และช่องทางในการสร้างความแข็งแกร่งให้การพัฒนาที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน, เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน, และบูรณาการกันได้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน-ไทย ตลอดจนโอกาสในการลงทุนและศักยภาพในการพัฒนาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทย และที่สำคัญที่สุดคือการบรรลุความร่วมมือที่ให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

คุณเอดิสัน เชิน (Edison Chen) รองประธาน ทริปดอทคอม กรุ๊ป (Trip.com) กล่าวถึงการประเมินพื้นที่ทางการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน-ไทย ในบริบทของการให้เดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า โดยชี้ว่า ตัวเลขจาก Trip.com แสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นกว่า 160% นับตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนระหว่างกันนี้เปิดโอกาสให้กับการพัฒนาต่าง ๆ ในหลายภาคส่วนทั่วทั้งประเทศจีนและประเทศไทย และยังเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการพัฒนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคีให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

ด้าน คุณฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้บรรยายถึงผลจากการสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมล่าสุด โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในยุคปลอดวีซ่า โดยได้กล่าวถึงการประเมินตลาดการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศไทย และเน้นย้ำจุดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการพัฒนา โอกาสในการลงทุนต่าง ๆ สำหรับการบ่มเพาะผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใหม่ ๆ ซึ่งผลิตขึ้นให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย
หลังการประชุม คณะตัวแทนทั้ง 200 คน ยังได้เดินทางไปดูงานเยี่ยมชมภายในกรุงเทพฯ อาทิ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม (ICONSIAM) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่สำคัญซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เปิดโอกาสให้ดูงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับพลวัตของภาคการค้าของประเทศไทยและแนวปฏิบัติใหม่ การเรียนรู้ร่วมกันในด้านการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย และได้ไปเยี่ยมชม สำนักงานใหญ่ของสมาคมการเดินทางแปซิฟิกเอเชีย (Pacific Asia Travel Association – PATA) เพื่อร่วมอภิปรายกับ PATA ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คณะตัวแทนยังได้ไปเยี่ยมชม นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซี่งเป็นที่ตั้งของบริษัทไทยและบริษัทนานาชาติที่มีสำคัญหลายบริษัท และนิคม ฯ แห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ปิดท้ายด้วย งานเลี้ยงอาหารค่ำแบบหม้อไฟในรูปแบบอาหารเสฉวน กับตัวแทนของประเทศไทยที่มาจากหลากหลายแวดวง ซึ่งถือเป็นการส่งท้ายการมาเยือนประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและเป็นมงคล

———————————————————